วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์   กระทรวงวัฒนธรรม

 

         ประวัติความเป็นมา

         วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราชเป็นสถานศึกษาทางด้านทัศนศิลปที่จัดการศึกษาให้กับเยาวชนที่มีความสนใจและความถนัดทางด้านศิลปกรรมในเขตภาคใต้   ตั้งอยู่  ณ   เลขที่  ๒๐๐  หมู่ที่  ๒  ถนนนครศรีฯ-นบพิตำ  ตำบลทอนหงส์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราชบนพื้นที่ ๓๗ ไร่  สภาพพื้นที่เดิมเป็นสวนยางและป่าไม้  รูปยาวลึกเข้ามาจากถนนใหญ่  ๖๕๐  เมตร  ในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๘ -  ๒๕๓๙ 
 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนรวม  ๑๒  ห้องเรียน  จำนวน  ๑  หลังเริ่มเปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ในปีการศึกษา  ๒๕๔๐  เป็นปีแรก

          การที่กรมศิลปากรได้จัดตั้งวิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราชขึ้น  ด้วยตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการศึกษาทางด้านศิลปะให้กับเยาวชนในส่วนภูมิภาค  
ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ศิลปะสาขาวิชาต่าง ๆ  ทั้งที่เป็นศิลปะไทยแบบประเพณีและศิลปะร่วมสมัย  อันเป็นวิชาชีพเพื่อรองรับความต้องการในการประกอบกิจการต่าง ๆ  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ตลอดจนการอนุรักษ์  สืบสาน  สร้างสรรค์  ศิลปวัฒนธรรมให้กับสังคมไทย

 

สัญลักษณ์ประจำวิทยาลัย


หมายถึง  เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ

 

          วันสถาปนา

                           ๑๑  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๓๙


           สีประจำวิทยาลัย

                            สีเหลือง - สีฟ้า


          ปรัชญา

                            ศิลปะยืนยาว   ชีวิตสั้น

                            ARS   LONGA   VITA   BREVIS


          ปณิธาน

                            สืบทอดศิลปะ   มุ่งสร้างสุนทรีย์   ใฝ่ความดีงาม


          วิสัยทัศน์

                             มีความเป็นเลิศด้านการศึกษาศิลปกรรม ส่งเสริมคุณธรรม และเผยแพร่ผลงานทางศิลปกรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม


          พันธกิจ

                                                                                 ๑.  จัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตนักศึกษาให้มีคุณภาพ
                             ๒.  ให้บริการทางวิชาการ และส่งเสริมการวิจัยหรือสร้างสรรค์
                             ๓.  ส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม


          วัตถุประสงค์

                             ๑.  เพื่อจัดการเรียนการสอน  และผลิตนักศึกษาให้มีความรู้ควบคู่คุณธรรม
                             ๒.  เพื่อศึกษาวิจัยหรือสร้างสรรค์
                             ๓.  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปกรรมและให้บริการทางด้านวิชาการ
                             ๔.  เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์  สืบสาน  สร้างสรรค์  และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
                             ๕.  เพื่อกระจายโอกาสในการศึกษาทางด้านศิลปกรรม


          นโยบาย

                             ๑.  ยึดหลักการบริการงานตามหลักธรรมาภิบาล
                             ๒.  สร้างระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา
                             ๓.  จัดระบบการทำงานแบบบูรณาการ  กิจกรรมและกระบวนการเรียนการสอน
                             ๔.  มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรม และคุณธรรม จริยธรรม
                             ๕.  พัฒนาผลงานทางด้านวิจัยหรือสร้างสรรค์
                             ๖.  ให้บริการทางวิชาการและศิลปกรรมแก่สังคม
                             ๗.  ส่งเสริม  อนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม